ความสำเร็จของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ขึ้นอยู่กับความสามารถในเชิงสร้างสรรค์และผู้ประกอบการ แต่การพัฒนาทั้งสองอย่างนี้ต้องใช้เวลานาน และการลงทุนมาก ส่วนการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ก็เพื่อดึงดูดผู้ประกอบการ และผู้มีความคิดสร้างสรรค์จากที่อื่นๆ เข้ามา เนื่องจากทุกวันนี้ 64% ของประชากรวัยทำงานเลือกเมืองก่อนเลือกงาน
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้เปิดตัวเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2547 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเมืองต่างๆ ทั้งในประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา โดยมีเมืองสร้างสรรค์ในสาขาต่างๆ ได้แก่ City of Literature, City of Film, City of Music, City of Design, City of Crafts & Arts, City of Gastronomy, City of Media Arts.
เมืองต่างๆ ในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีดังนี้
City of Design (เมืองแห่งการออกแบบ): เบอร์ลิน,บัวโนสไอเรส, มอนทรีอัล, โกเบ, นาโกยา, เสิ่นเจิ้น, เซี่ยงไฮ้, กรุงโซล
สาธารณรัฐประชาชนจีน นครเซี่ยงไฮ้มีนิคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 75 แห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทงานสร้างสรรค์กว่า 3,000 บริษัทจากกว่า 30 ประเทศ ในขณะที่กรุงปักกิ่งมีนิคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 12 แห่ง รวมทั้ง “Factory 798” ส่วนเสิ่นเจิ้นเป็นเมืองแรกของจีนที่ได้รับการคัดเลือกจากยูเนสโกให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ สำหรับโซนศิลปะใน Factory 798 ที่เดิมเคยเป็นโรงงานผลิตอาวุธเก่าได้กลายเป็นแกลเลอรีแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน และจากสถิติเมื่อไม่นานนี้ระบุว่าจีนอยู่ในอันดับ 3 ของประเทศที่มีการค้าขายงานศิลปะมากที่สุดของโลกรองจาก ฝรั่งเศสและอิตาลี
City of Gastronomy (เมืองแห่งอาหาร): โปปายัน (โคลัมเบีย), เฉิงตู (จีน), ออสเตอร์ซุนด์ (สวีเดน)

โปปายัน (โคลัมเบีย) เป็นเจ้าภาพจัดตั้งศูนย์วิจัย และห้องสมุดเกี่ยวกับอาหาร โดยใช้ชื่อว่า “Gastronomy Corporation of Popayan” เพื่อรับผิดชอบการจัดประชุมด้านอาหารแห่งชาติ (National Gastronomy Congress
City of Media Arts (เมืองแห่งสื่อศิลปะ): ลียง (ฝรั่งเศส)

City of Film (เมืองแห่งภาพยนตร์): แบรดฟอร์ด (อังกฤษ)

City of Literature (เมืองแห่งวรรณกรรม): เอดินเบิร์ก (สก๊อตแลนด์) ไอโอวาซิตี้ (สหรัฐอเมริกา) เมลเบิร์น (ออสเตรเลีย) ดับลิน (ไอร์แลนด์)

City of Music (เมืองแห่งดนตรี): โบโลนญา (อิตาลี), เกนท์ (เบลเยียม), เซบียา (สเปน) กลาสโกว์ (สก๊อตแลนด์)

City of Crafts & Folk Arts (เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน): อัสวาน (อียิปต์), คานาซาวา (ญี่ปุ่น), ซานตาเฟ (สหรัฐอเมริกา), อินชอน (เกาหลีใต้)

สาธารณรัฐเกาหลี อิทธิพลจากวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งในสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ซีรีส์ทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อาหาร ดนตรี แฟชั่น การท่องเที่ยวก่อให้เกิดกระแสเกาหลี หรือ “Korean Wave” ในหลายประเทศของเอเชีย โครงการฟื้นฟูคลองชองเกชอนในกรุงโซล ซึ่งใช้เวลาถึง 2 ปี 8 เดือน โดยรวมถึงการรื้อถอนทางด่วนที่ถูกสร้างคร่อมคลองนี้ออกไป ปัจจุบันคลองแห่งนี้มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนของการอนุรักษ์ ส่วนของศิลปะ และส่วนของธรรมชาติ และมันยังเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงโซล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.etatjournal.com/web/etat-journal/2011/2011-apr-jun/313-city-community-create
ที่มาภาพ : จาก presentation ของ Tim Curtis
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.etatjournal.com/web/etat-journal/2011/2011-apr-jun/313-city-community-create
ที่มาภาพ : จาก presentation ของ Tim Curtis
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น