วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ประเทศไทย : ศักยภาพในการเป็นเมืองสร้างสรรค์



การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์จะมีผลอย่างไรต่อวิถีการดำเนินชีวิต และประเทศไทยจะหาประโยชน์จากเมืองสร้างสรรค์ได้อย่างไร
ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ จะเป็นการดึงดูดการลงทุน สร้างงาน เพิ่มรายได้ และยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการขยายขอบเขตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การท่องเที่ยว และการบริการ และยังเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ เช่น การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา, การสร้างระบบทางการเงิน
ประโยชน์ในเชิงสังคม เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ (เช่น ห้องสมุด, ศูนย์การเรียนรู้, พิพิธภัณฑ์) มีการจัดตั้งเครือข่ายธุรกิจสร้างสรรค์ เกิดการฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาของสังคมที่สามารถนำมาประยุกต์เพื่อสร้างมูลค่า และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์

ประโยชน์ในเชิงสิ่งแวดล้อม เกิดการพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพของเมือง ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงภูมิทัศน์ และเป็นไปได้ที่จะส่งเสริมแผนบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเมือง อย่างไรก็ดีอาจเกิดผลกระทบเชิงลบได้ เช่น ความขัดแย้งกับประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หากไม่มีการสื่อสารที่เหมาะสม และเพียงพอกับบุคคลเหล่านั้น วิถีการดำเนินชีวิตถูกกระทบ เช่น ค่าครองชีพสูงขึ้น และการเวนคืนที่ดิน ปัญหาการจราจรติดขัดเป็นคอขวด และมลพิษ เป็นต้น

เมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทย มีโอกาสที่จะพัฒนาได้เนื่องจากมีปัจจัยดังต่อไปนี้
- ความโดดเด่นทางกายภาพ เช่น ภูมิทัศน์ที่สวยงาม โครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ
- ทำเลที่ตั้งอยู่ในใจกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานในแต่ละพื้นที่
- มีผู้ประกอบการที่มีทักษะเชิงสร้างสรรค์

โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ดำเนินการโดยสำนักบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
- โครงการฝึกอบรมผู้บริหาร เศรษฐกิจสร้างสรรค์
- โครงการ Thailand.com
- โครงการ “Thai Creative Awards“
- โครงการ “Creative Mobile”
- โครงการ “Skill Mapping”
- โครงการ “Bangkok Music Showcase”
- การสัมมนา “Creative Unfold Symposium



เมืองสร้างสรรค์ของไทย
สำนักงานบริหารและพัฒนาความรู้ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร จัดประชาพิจารณ์ในหัวข้อ “กรุงเทพฯ ควรเป็นเมืองสร้างสรรค์อย่างไร” เมื่อเดือน กรกฎาคม 2552 โดยได้ข้อสรุปจากการประชุมกล่าวคือ

- มุ่งเน้นสหสาขาเนื่องจากกรุงเทพฯ มีดีในเรื่องความหลากหลาย
- ประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของกรุงเทพฯ
- ควรเริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อน
- โซนที่ควรพัฒนาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์คือ ย่านเมืองประวัติศาสตร์รอบพระบรมมหาราชวัง เยาวราช และพื้นที่สมัยใหม่ เช่น สุขุมวิท และสยาม




เชียงใหม่ เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีความเป็นเมืองสร้างสรรค์ เนื่องจากมีความพร้อมในแง่ของความงดงามทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ มีสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย และมีภูมิประเทศที่สวยงาม มีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ การคมนาคม การศึกษา และยังมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง  สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงในเชียงใหม่ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม สื่อสารมวลชน, การออกแบบ, สารสนเทศ เช่น ซอฟต์แวร์ มัลติมีเดีย และอนิเมชั่น

 

เพชรบุรี เป็นเมืองที่ได้รับการเสนอให้อยู่ในจังหวัดนำร่องเพื่อพัฒนาเป็นเมืองสร้างสรรค์ในโครงการของกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากมีสถานที่น่าสนใจในเชิงประวัติศาสตร์ เช่น พระราชวังต่างๆ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เช่นการทำขนมหวาน และอาหารท้องถิ่นต่างๆ



สำหรับกรณีศึกษาที่วิทยากรยกมานำเสนอเป็นตัวอย่างการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์โดยชุมชนเองได้แก่ ตลาดน้ำอัมพวา โดยมีการพัฒนาเนื่องมาจาก เกิดการอิ่มตัวของเมือง เพราะการสัญจรทางน้ำลดความสำคัญลง เนื่องจากการพัฒนาถนนหนทาง คนหนุ่มสาววัยทำงานอพยพออกจากพื้นที่เหลือแต่ประชากรสูงอายุและเด็ก จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้นำชุมชนเกิดวิสัยทัศน์ที่จะ “นำอัมพวากลับสู่การเป็นศูนย์กลางของการสัญจรทางน้ำ เช่นในอดีต โดยใช้ชุมชนเป็นพลังขับเคลื่อน” และในปัจจุบันอัมพวาก็มี “ตลาดน้ำตอนเย็น” (Evening Floating Market) เกิดขึ้นโดยมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการท่องเที่ยว



ลักษณะเด่นทางภูมิศาสตร์ + ทุนทางสังคม      →  ตลาดน้ำอัมพวา
(Geographic Attributes)  (Social Capital)       (Amphawa Model)




เทคนิคในการสร้างตลาดน้ำอัมพวา ได้แก่ การกำหนดอัตลักษณ์เพื่อสร้างเศรษฐกิจของชุมชน การดึงแรงงานวัยหนุ่มสาวกลับมาในชุมชน และการใช้ชุมชนเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน


 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

www.brandage.com/Asset/BrandAge-Siamrath/03.pdf

www.creativethailand.org/th/articles/article_detail.php?id=30

Creative City around the world เมืองสร้างสรรค์รอบโลก

Creative City ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการสร้างบรรยากาศที่มีเสน่ห์สีสันในการดึงดูด Creative Talent จากทุกซอกมุมโลกให้มาร่วมผลิตสินค้าที่เปล่งประกายเรืองรอง และนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศชาติในท้ายที่สุด
           
ความสำเร็จของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ขึ้นอยู่กับความสามารถในเชิงสร้างสรรค์และผู้ประกอบการ แต่การพัฒนาทั้งสองอย่างนี้ต้องใช้เวลานาน และการลงทุนมาก ส่วนการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ก็เพื่อดึงดูดผู้ประกอบการ และผู้มีความคิดสร้างสรรค์จากที่อื่นๆ เข้ามา เนื่องจากทุกวันนี้ 64% ของประชากรวัยทำงานเลือกเมืองก่อนเลือกงาน
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้เปิดตัวเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2547 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเมืองต่างๆ ทั้งในประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา โดยมีเมืองสร้างสรรค์ในสาขาต่างๆ ได้แก่ City of Literature, City of Film, City of Music, City of Design, City of Crafts & Arts, City of Gastronomy, City of Media Arts.
เมืองต่างๆ ในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีดังนี้

City of Design (เมืองแห่งการออกแบบ): เบอร์ลิน,บัวโนสไอเรส, มอนทรีอัล, โกเบ, นาโกยา, เสิ่นเจิ้น, เซี่ยงไฮ้, กรุงโซล

                                                                            เซี่ยงไฮ้

สาธารณรัฐประชาชนจีน นครเซี่ยงไฮ้มีนิคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 75 แห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทงานสร้างสรรค์กว่า 3,000 บริษัทจากกว่า 30 ประเทศ ในขณะที่กรุงปักกิ่งมีนิคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 12 แห่ง รวมทั้ง “Factory 798” ส่วนเสิ่นเจิ้นเป็นเมืองแรกของจีนที่ได้รับการคัดเลือกจากยูเนสโกให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ สำหรับโซนศิลปะใน Factory 798 ที่เดิมเคยเป็นโรงงานผลิตอาวุธเก่าได้กลายเป็นแกลเลอรีแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน และจากสถิติเมื่อไม่นานนี้ระบุว่าจีนอยู่ในอันดับ 3 ของประเทศที่มีการค้าขายงานศิลปะมากที่สุดของโลกรองจาก ฝรั่งเศสและอิตาลี


City of Gastronomy (เมืองแห่งอาหาร): โปปายัน (โคลัมเบีย), เฉิงตู (จีน), ออสเตอร์ซุนด์ (สวีเดน)


โปปายัน (โคลัมเบีย)  เป็นเจ้าภาพจัดตั้งศูนย์วิจัย และห้องสมุดเกี่ยวกับอาหาร โดยใช้ชื่อว่า “Gastronomy Corporation of Popayan” เพื่อรับผิดชอบการจัดประชุมด้านอาหารแห่งชาติ (National Gastronomy Congress

City of Media Arts (เมืองแห่งสื่อศิลปะ): ลียง (ฝรั่งเศส)
 

City of Film (เมืองแห่งภาพยนตร์): แบรดฟอร์ด (อังกฤษ)
 

 City of Literature (เมืองแห่งวรรณกรรม): เอดินเบิร์ก (สก๊อตแลนด์) ไอโอวาซิตี้ (สหรัฐอเมริกา) เมลเบิร์น (ออสเตรเลีย)  ดับลิน (ไอร์แลนด์)
 

 City of Music (เมืองแห่งดนตรี): โบโลนญา (อิตาลี), เกนท์ (เบลเยียม), เซบียา (สเปน) กลาสโกว์ (สก๊อตแลนด์)

City of Crafts & Folk Arts (เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน): อัสวาน (อียิปต์), คานาซาวา (ญี่ปุ่น), ซานตาเฟ (สหรัฐอเมริกา), อินชอน (เกาหลีใต้)
 
สาธารณรัฐเกาหลี อิทธิพลจากวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งในสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ซีรีส์ทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อาหาร ดนตรี แฟชั่น การท่องเที่ยวก่อให้เกิดกระแสเกาหลี หรือ “Korean Wave” ในหลายประเทศของเอเชีย โครงการฟื้นฟูคลองชองเกชอนในกรุงโซล ซึ่งใช้เวลาถึง 2 ปี 8 เดือน โดยรวมถึงการรื้อถอนทางด่วนที่ถูกสร้างคร่อมคลองนี้ออกไป ปัจจุบันคลองแห่งนี้มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนของการอนุรักษ์ ส่วนของศิลปะ และส่วนของธรรมชาติ และมันยังเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงโซล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.etatjournal.com/web/etat-journal/2011/2011-apr-jun/313-city-community-create
ที่มาภาพ : จาก presentation ของ Tim Curtis

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)

หลังจากครั้งที่แล้วข้าพเจ้าพาไปรู้จักกับคำว่า อุตสหากรรมไมซ์ ( MICE ) ซึ่งเป็นหนึ่งใน ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ วันนี้ ข้าพเจ้าจึงพามารู้จักว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์คืออะไร ไปดูกันเลยยย!!!


คำว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) ในปัจจุบันคำที่ใช้กันมากและอาจสร้างความสงสัยให้ผู้คนได้ไม่น้อยก็คือคำว่าCreative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นในเศรษฐกิจไทยในอนาคตอันใกล้ เกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่รู้จักใช้คอนเซ็ปท์ Creative Economy (CE) ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง การส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีไปทั่วโลกในรูปของภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ เพลง นักร้อง แฟชั่น การท่องเที่ยว ศิลปะการแสดง อาหาร ฯลฯ


                   UNCTAD แบ่งประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 
1) ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม (Heritage or Cultural Heritage) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และสภาพสังคม เป็นต้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Traditional Cultural Expression) เช่น ศิลปะและงานฝีมือ เทศกาลงานและงานฉลอง เป็นต้น และกลุ่มที่ตั้งทางวัฒนธรรม (Cultural Sites) เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และการแสดงนิทรรศการ เป็นต้น 



2) ประเภทศิลปะ (Arts) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศิลปะ และวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 กุล่ม คือ งานศิลปะ (Visual Arts) เช่น ภาพวาด รูปปั้น ภาพถ่าย และวัตถุโบราณ เป็นต้น รวมทั้งศิลปะการแสดง (Performing Arts) เช่น การแสดงดนตรี การแสดงละคร การเต้นรำ โอเปร่า ละครสัตว์ และการเชิดหุ่นกระบอก เป็นต้น 


3) ประเภทสื่อ (Media) เป็นกลุ่มสื่อผลิตงานสร้างสรรค์ที่สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ งานสื่อสิ่งพิมพ์ (Publishing and Printed Media) เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ เป็นต้น และงานโสตทัศน์ (Audiovisual) เช่น ภาพยนตร์โทรทัศน์ วิทยุ และการออกอากาศอื่นๆ เป็นต้น

4) ประเภท (Functional Creation) เป็นกลุ่มของสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มการออกแบบ (Design) เช่น การออกแบบภายใน กราฟิค แฟชั่น อัญมณี และของเด็กเล่น เป็นต้น ส่วนกลุ่ม New Media ได้แก่ ซอฟต์แวร์ วิดีโอเกม และเนื้อหาดิจิตอล เป็นต้น และกลุ่มบริการทางความคิดสร้างสรรค์ (Creative Services) ได้แก่ บริการทางสถาปัตยกรรม โฆษณา วัฒนธรรมและนันทนาการ งานวิจัยและพัฒนา และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอล และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น 


ประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดขอบเขตของ CE หรือ CI อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ได้พยายามจัดกลุ่มของ CI ตามลักษณะของบัญชีรายได้ประชาชาติ โดยแบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ 1) งานฝีมือและหัตถกรรม (Crafts) 2) งานออกแบบ (Design) 3) แฟชั่น (Fashion) 4) ภาพยนตร์และวิดีโอ (Film & Video) 5) การกระจายเสียง (Broadcasting) 6) ศิลปะการแสดง (Performing Arts) 7) ธุรกิจโฆษณา (Advertising)  ธุรกิจการพิมพ์ (Publishing) 9) สถาปัตยกรรม (Architecture) 
ข้อมูลของสำนักบัญชีประชาชาติปี 2549 ระบุว่ามูลค่าของ CI ของทั้ง 9 กลุ่มข้างต้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10.4 ของ GDP โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 848,000 ล้านบาท และมีมูลค่าการส่งออกในปี 2549 ประมาณ 289,000 ล้านบาท 
ประเทศไทยมีวัตถุดิบที่สามารถพัฒนาขึ้นเป็นสินทรัพย์สร้างสรรค์ (Creative Assets) อยู่มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นในด้านรูปธรรมหรือนามธรรม ซึ่งสามารถนำไปสร้างเสริม CE ได้เป็นอย่างดี 


ในด้านรูปธรรม เรามีพระบรมมหาราชวัง พระแก้วมรกต พระพุทธรูปงดงามพระราชวัง วัดวาอาราม เรือสุพรรณหงส์ อาหารไทย รำไทย นวดไทย ข้าวไทย ผลไม้ไทย ผ้าไหมไทย สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน ฯลฯ แหล่งท่องเที่ยว เช่น อยุธยา สุโขทัย เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา เยาวราช สำเพ็ง เขาพระวิหาร เมืองโบราณ ฟาร์มจระเข้ ฯลฯ 


ในด้านนามธรรม เรามีเรื่องราวของ Siamese Twins อิน-จัน (คำว่า Siamese สามารถช่วยสร้าง CE ได้เป็นอย่างดีเพราะฝรั่งรู้จัก Siamese Twins/ Siamese Cats แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าประเทศไทยกับสยามคือประเทศเดียวกัน บ้างก็นึกว่า Thailand คือ Taiwan) สะพานข้ามแม่น้ำแคว เขาตะปู (ในตอนหนึ่งของภาพยนตร์ 007 James Bond) ฯลฯ 
วัตถุดิบเหล่านี้กำลังรอคอยการพัฒนาขึ้นเป็น Creative Assets เพื่อเป็นปัจจัยในการ
สร้าง Creative Industries


หัวใจสำคัญของการพัฒนาก็คือความคิดสร้างสรรค์ (Creative Ideas) ซึ่งมิได้ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิด หากเกิดขึ้นจากการมีทักษะในการคิด (Thinking Skills) และการมีความคิดริเริ่ม (Originality) ซึ่งต้องมีการเรียนการสอน ฝึกฝนกันในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง 


ในแผนงานกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 (2553-2555) ของรัฐบาลชุดนายกฯ อภิสิทธิ์นี้ งานสร้าง CE ได้รับเงินจัดสรรรวม 17,585 ล้านบาท โดยจัดสรรให้แก่การส่งเสริมและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา การส่งเสริมเอกลักษณ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมช่างฝีมือไทย การส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงและซอฟต์แวร์ การส่งเสริมอุตสาหกรรมรวมออกแบบและสินค้าเชิงสร้างสรรค์ และการขับเคลื่อนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 


หากประเทศของเราจะอยู่ได้ดีในหลายทศวรรษหน้า ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศเราจำเป็นต้องพัฒนาจากระดับต่ำสุด คือ เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยปัจจัยการผลิต (Factor-driven Economy คือ การใช้การผลิตด้วยต้นทุนต่ำเป็นปัจจัยสำคัญ) เพื่อเข้าสู่ระดับความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นเป็นลำดับคือ เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ (Efficiency-driven Economy) 
และเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-driven Economy) ในที่สุด


แนวความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์


ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดคำนิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เป็นหนึ่งเดียวขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้ให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยความหมายอย่างง่ายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ซึ่งนิยามโดย John Howkins คือ การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์สำหรับสาขาการผลิตที่พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะเรียกว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ซึ่งหมายถึง กลุ่มกิจกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบสำคัญ


“เศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีองค์ประกอบร่วมของแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่


   การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในปัจจุบันแม้ว่าจะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการพัฒนาที่ต่อเนื่องและต่อยอดจากแนวทางการพัฒนาด้วยการเพิ่มคุณค่า (Value creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรมซึ่งได้ขับเคลื่อนการพัฒนาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ในปัจจุบันทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้นของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการขยายองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจกับภาคีการพัฒนาทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างจริงจัง และมีบูรณาการ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและสามารถปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างเป็น รูปธรรม




   แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในปัจจุบัน
(1) นโยบายรัฐบาล 
(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
(3) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2: SP2)


   แผนงานพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย
(1) มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และความหลากหลายทางชีวภาพ 
(2) เอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรม 
(3) งานช่างฝีมือและหัตถกรรม 
(4) อุตสาหกรรมสื่อ บันเทิง และซอฟต์แวร์ 
(5) การออกแบบและพัฒนาสินค้าเชิงสร้างสรรค์ 
(6) การขับเคลื่อนและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์




แผนงานพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้รับการอนุมัติกรอบวงเงินจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 45 โครงการ และต่อมามีการรวมกลุ่มโครงการเหลือ 39 โครงการ กรอบวงเงิน 20,134.10 ล้านบาท จากหน่วยงานรับผิดชอบ 7 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q2/2009june18p5.htm

http://www.creativethailand.org/2009/about/about_cceo_p1.html

http://www.oknation.net/blog/imp/2009/11/09/entry-1

http://www.industry.go.th/ops/pio/nakhonratchasima/Lists/News/Disp.aspx?List=ac4ae0a1%2D8bae%2D4b99%2Db985%2D9fa9ee646282&ID=111

http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=2&ArticleID=3707&ModuleID=21&GroupID=1084


วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

อุตสาหกรรมไมซ์




ไมซ์ (MICE) ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions หรือบางครั้ง C หมายถึง Conferencing และ E หมายถึง Events) หมายถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมบริษัทข้ามชาติ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติ และการจัดนิทรรศการ ไมซ์เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่มีความแตกต่างจากนักท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วไปคือ

     
      วัตถุประสงค์ของการเดินทาง
นักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ จะมีวัตถุประสงค์หลักในการเดินทางที่เฉพาะเจาะจง ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางเพื่อร่วมประชุมบริษัท การท่องเที่ยวจากรางวัลที่ได้รับ การเข้าร่วมงานประชุมนานาชาติ หรือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรือนิทรรศการนานาชาติ
        คุณภาพของนักท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมไมซ์สามารถนำท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีคุณภาพ (Quality Visitors) นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกลุ่มนี้ มีระดับการใช้จ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป 3-4 เท่า
        ภาคธุรกิจ / อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
อุตสาหกรรมไมซ์ มีภาคธุรกิจ / อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องแตกต่างกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น ผู้จัดงานประชุม  ผู้จัดงานนิทรรศการ สถานที่จัดประชุม ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการ เป็นต้น


สสปน. เร่งเครื่องเปิดโครงการ ไมซ์ไทยเข้มแข็ง : Creative MICE เคลื่อนทัพทั่วประเทศ  มั่นใจจุดประกายสร้างงานไมซ์อย่างสร้างสรรค์ 




สำหรับในประเทศไทยนั้นเรามี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ที่ได้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวโครงการ ไมซ์ไทยเข้มแข็ง: Creative MICE พลิกฟื้นเศรษฐกิจ ด้วยความคิดสร้างสรรค์เต็มรูปแบบผ่านการจัดงานอีเว้นท์ เดินสายทุกภูมิภาค ภายใต้แนวคิด พลิก สร้าง แปลง เปลี่ยนหวังสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นพื้นที่จัดงานประชุมสัมนา พร้อมนำกูรูผู้มากประสบการณ์ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนอกกรอบ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ดีเดย์เริ่มโรดโชว์ วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ จังหวัดชลบุรีเป็นที่แรก 



นายอรรคพล  สรสุชาติ  ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุม และนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยว่า โครงการ ไมซ์ไทยเข้มแข็ง : Creative MICE Event เป็นโครงการ ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้งบประมาณไทยเข้มแข็งปี 2553 ที่ สสปน.ได้รับจากรัฐบาล จำนวน 50 ล้านบาท และยังเป็นการต่อยอดความสำเร็จของโครงการ ร่วมใจประชุมเมืองไทย พลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติโดยมีวัตถุประสงค์   เพื่อสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ ตลอดจนยังเป็นการจุดประกายให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น สามารถจัดงานประชุมอย่างสร้างสรรค์ (Creative Meeting) อันจะเป็นการเพิ่มพูนรายได้ในท้องถิ่น  การขยายศักยภาพของชุมชน  รวมทั้งกระตุ้นให้ภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง      ในธุรกิจอุตสาหกรรม MICE ได้ตื่นตัวและนำเอาความคิดสร้างสรรค์ มาเพิ่มมูลค่าให้เกิดขึ้นได้ในทุกภาคธุรกิจ  ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งพลังในการร่วมผลักดัน สู่การพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย 


โครงการ ไมซ์ไทยเข้มแข็ง : Creative MICE พลิกฟื้นเศรษฐกิจ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ นับเป็นแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์งานไมซ์ของ สสปน.ให้มีความพิเศษและแตกต่าง เพื่อเป็นจุดขายสำคัญในการดึงงานเข้ามาจัดในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ ครีเอทีฟอีโคโนมีของรัฐบาล โดยรูปแบบโครงการ ต้องการเน้นถึงการสร้างกิจกรรมต่างๆ ผ่านการจัดงานอีเว้นท์ เพื่อให้เกิดเป็นแรงจูงใจให้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เนรมิต พื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาคให้สามารถจัดงานประชุมงาน หรือ สัมมนาด้วยมุมมองใหม่ๆ ไม่ใช่การจัดประชุม ต้องจำกัดอยู่แต่ภายในห้อง ประชุมหรือ โรงแรมเท่านั้น 



การจัดโครงการ ไมซ์ไทยเข้มแข็ง: Creative MICE พลิกฟื้นเศรษฐกิจ ด้วยความคิดสร้างสรรค์”    จัดขึ้น ภายใต้แนวคิดหลักพลิก สร้าง แปลง เปลี่ยน ด้วยการเปลี่ยนความคิดแบบเดิมๆ ด้วยพลัง สร้างสรรค์เน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนถึงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ และผลผลิตของแต่ละท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาสู่พื้นที่สำหรับธุรกิจไมซ์อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ และ พัฒนาเมืองไมซ์   สู่การพัฒนาอย่างมั่นคง และ



                                                                         
สำหรับคีย์เวิร์ด ในโครงการนี้ มี 4 คำ ได้แก่ การพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ แปลงรูปแบบของการดำเนินการ เปลี่ยนแนวคิดให้มีมูลค่าเพิ่ม และ ส่วนสำคัญต้องการทำให้ผู้ประกอบการตลอดจนหน่วยงานต่างๆเข้าใจว่าอุตสาหกรรม MICEคืออะไร เป้าหมายคืออะไร การหาจุดพื้นที่ยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาเป็นคลัสเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางของแต่ละภาคเป็นหลักของอุตสาหกรรมไมซ์อันเป็นการเพิ่มพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ลงไปสู่ภูมิภาคและชุมชนนายอรรคพล กล่าว



นายอรรคพล กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับรูปแบบการเปิดตัวโครงการ ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศในครั้งนี้ ทาง สสปน. ต้องการที่จะคิดนอกกรอบ โดยการพลิกมุมมองสร้างสรรค์ ให้การเปิดตัวโครงการแตกต่างไปจากการเปิดงานหรืออีเวนท์ทั่วไป และงานนี้เป็นพียงส่วนหนึ่งของความสร้างสรรค์ที่ได้ พลิก-สร้าง-แปลง-เปลี่ยน ธุรกิจ MICE ซึ่งสสปน.ก็ยังมีตัวอย่างความสร้างสรรค์อีกมากมายที่ได้สร้าง และจะกระจายไปยังกลุ่มพื้นที่ยุทธศาสตร์ทั่วประเทศไทย อันได้แก่ ภาคเหนือ: วิถีชาวเหนือ..แปลกใหม่ อย่างสร้างสรรค์ ภาคตะวันออก:พิกัดแห่งความบันเทิง ครบเครื่องกิจกรรม เพื่อรางวัลชีวิต และภาคใต้: ภูมิภาคสองทะเล เสน่ห์เมืองใต้ สะท้อนจุดต่างทางธุรกิจไมซ์ 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.tceb.or.th/about-us-th.html